เมื่อได้ยินคำว่าการตลาดการตลาดเรามัก จะนึกถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ การโฆษณาสินค้า ตามสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ต่างๆ รวมถึงการลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดให้ลุกค้ามาซื้อสินค้าซึ่งความจริงแล้วการผลิตผลิตภัณฑ์ การขาย การโฆษณา และการลดราคานั้น ต่างเป็นเพียงหนึ่งในหน้าที่ทาง การตลาดซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย กิจกรรมทางการตลาดจะเริ่มตั้งแต่ก่อนการผลิต สินค้าให้ลูกค้าได้รับความพอใจ ดั้งนั้นก่อนที่จะทำการผลิตสินค้า นักการตลาดจึงต้องทำความเข้าใจกับความต้องการของผู้บริโภคเพื่อหาทางตอบสนองดังนั้นการตลาดจึงหมายถึงกระบวนการทางสังคม และการจัดการมี่มุ่งสนอง ความจำเป็นและความต้องการให้กับ บุคคลและกลุ่มต่างๆ โดยอาศัยการสร้างสรรค์และการแลกเปลี่ยนคุณค่ากับผู้อื่น
การตลาด (Marketing) คือ กิจกรรมของธุรกิจกำหนดขึ้นเพื่อที่จะวางแผนราคาส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่าย คุณค่าผลิตภัณฑ์ การบริหารและความคิดไปยังตลาดเป้าหมาย เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ (ตะวันพล เหล่าชัยเจริญ. 2549 : 18)
การตลาด หมายถึง กระบวนการในการวางแผน (Planning) และการบริหารแนวคิดการตั้งราคา (Pricing) การส่งเสริมการขาย (Promotion) และการจัดจำหน่าย (Distribution) ความคิด สินค้าและบริการเพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนโดยสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การและสนองความพึงพอใจของบุคคล (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ 2541 : 22)
Michael J.Etzel และคณะ (อดุลย์ จาตุรงค์กุล. 2543 : 5) กล่าวว่า การตลาด คือ ระบบของกิจกรรมทางการธุรกิจออกแบบ เพื่อวางแผนตั้งราคา ส่งเสริมการจำหน่าย และการจัดจำหน่ายสินค้าที่จะไปตอบสนองความต้องการแต่ตลาดเป้าหมายและเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วย
American Marketing Associatiom (วิทวัส รุ่งเรืองผล. 2546 : 5) ได้ให้คำนิยามไว้ว่านอกเหนือจากคำนิยามข้างต้นแล้ว Dr. Phillip Kotler ศาสตราจารย์ด้านการตลาดผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำนิยามของการตลาด (Marketing) ว่าคือ กระบวนการทางสังคมและทางการจัดการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในการสร้าง เสนอ และแลกเปลี่ยนคุณค่าในผลิตภัณฑ์ที่เขามีอยู่กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่น เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่เขาต้องการ
สุดาดวง เรืองรุจิระ (2543 : 1) กล่าวว่า การตลาด หมายถึง การกระทำกิจกรรมต่างๆ ในทางธุรกิจที่มีอิทธิพลให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้น ๆ ให้ได้รับความพอใจขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
ความหมายของตลาดบริการ (Service Market) ชัยสมพล ชาวประเสริฐ (2546 : 8 ) ได้ให้ความหมายของตลาดบริการไว้ว่า หมายถึงกิจกรรมของกระบวนการส่งมอบสินค้าที่ไม่มีตัวตน (Intangible goods) ของธุรกิจให้กับผู้รับบริการ โดยสินค้าที่ไม่มีตัวตนนั้นจะต้องตอบสนองความต้องการของผู้รับริการจนนำไปสู่ความพึงพอใจได้
การบริการ หมายถึง “กิจกรรมของกระบวนการส่งมอบสินค้าที่ไม่มีตัวตน (Intangible Goods) ของธุรกิจให้กับผู้รับบริการโดยสินค้าที่ไม่มีตัวตนนั้นจะต้องตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการจนนำไปสู่ความพึงพอใจได้” (ชัยสมพล ชาวประเสริฐ 2549 : 18)
จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถพิจารณาความหมายสำคัญของคำต่าง ๆ ได้ดังนี้
- กิจกรรมของกระบวนการส่งมอบ (Delivery Activity) หมายถึงการดำเนินการหรือการกระทำใด ๆ ของธุรกิจให้บริการอันเป็นผลให้ผู้รับบริการ (ลูกค้า) ได้รับการตอบสนองตรงตามความต้องการ เช่น การที่ลูกค้ามาซ่อมนาฬิกาสิ่งที่ลูกค้าต้องการ คือ การที่นาฬิกาอยู่ในสภาพใช้งานได้ดังนั้น กิจกรรมของกระบวนการส่งมอบก็คือ จะต้องแก้ไขนาฬิกานั้นตามความต้องการของลูกค้า
- สินค้าที่ไม่มีตัวตน (Intangible Goods) หมายถึง การบริการซึ่งเกิดจากกิจกรรของกระบวนการส่งมอบ ได้แก่ คำปรึกษา การรับประกัน การให้บริการความบันเทิง การให้บริการ
- ความถึงพอใจ (Customer Satisfaction) หมายถึง การที่ลูกค้าได้รับการบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการดังนั้นในธุรกิจทั่วไป เช่น ในภัตตาคาร ลูกค้าจะได้รับสินค้า 2 ประเภท ดังนี้
- สินค้าที่มีตัวตน ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม ผ้าเย็น
- สินค้าที่ไม่มีตัวตน ได้แก่ การต้อนรับ การรับคำสั่งอาหาร รอยยิ้ม มิตรไมตรี ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่ไม่มีตัวตน ก็คือ “การบริการ” นั่นเอง